วารสารโรคข้อและรูมาติสซั่ม (Thai Journal of Rheumatology) เป็นสิ่งพิมพ์ของ สมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย กำหนดออกทุก 3 เดือน
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้ความรู้ทางด้านโรคข้อและรูมาติสซั่ม แก่สมาชิกสมาคมฯ รวมทั้ง ผู้ที่สนใจทั่ว ไป
- เพื่อเผยแพร่ข่าวสารและการดำเนินงานของสมาคมฯ
- เพื่อเป็นสื่อกลางในการแสดงและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างสมาชิกสมาคมฯ
โดยบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารโรคข้อและรูมาติสซั่มจะผ่านการพิจารณาคัดเลือกและให้คำแนะนำจากกองบรรณาธิการซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านโรคข้อและรูมาติสซั่มก่อนการตีพิมพ์ (peer-review process)
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารโรคข้อและรูมาติสซั่ม ได้แก่
- นิพนธ์ต้นฉบับ (original article) เป็นรายงานผลการวิจัยของผู้เขียน ในกรณีที่ทำวิจัยในคนผลงานวิจัยจำเป็นต้อง ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมกรรมจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
- ทบทวนวรรณกรรม (review article) เป็นบทความที่เขียนจากการรวบรวม สังเคราะห์ วิเคราะห์ ความรู้เรื่องใด เรื่องหนึ่งจากบทความวิจัยและ/หรือบทความวิชาการจากวารสารต่างๆทั้งในประเทศและต่างประเทศ และมีบท สรุปวิจารณ์
- รายงานผู้ป่วย (case report) เป็นรายงานผู้ป่วยที่น่าสนใจ อภิปรายประเด็นที่น่าสนใจโดยอ้างอิงจากหลักฐาน ข้อมูลทางการแพทย์ที่มีการศึกษาหรือรายงานไว้ เสนอข้อคิดเห็นและมีบทสรุป
- บทความอื่น ๆ เช่น บทความเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพที่กำลังได้รับความสนใจ แนวทางเวชปฏิบัติ ยาใหม่ เป็นต้น
ข้อแนะนำในการเตรียมต้นฉบับ
- ศัพท์ภาษาอังกฤษที่สามารถแปลเป็นภาษาไทยได้ ควรแปลเป็นภาษาไทย เครื่องหมาย % ควรใช้คำว่า ร้อยละ เป็นต้น ยกเว้น ศัพท์ทางการแพทย์ หรือศัพท์ภาษาอังกฤษที่แปลไม่ได้ หรือแปลแล้วทำให้ใจความไม่ชัดเจน สามารถค้นหาศัพท์บัญญัติวิชาการ อังกฤษ-ไทย ได้ที่ http://rirs3.royin.go.th/coinages/webcoinage.php
- ใช้อักษรย่อสากล และเขียนคำเต็มก่อนพร้อมวงเล็บอักษรย่อก่อนใช้อักษรย่อครั้งแรก ยกเว้นอักษรย่อของหน่วยวัดที่เป็นมาตรฐาน
- ความยาว review article ประมาณ 15-20 หน้า, original article ประมาณ 10-15 หน้า, หรือ interesting case ประมาณ 5-10 หน้า (ไม่รวมเอกสารอ้างอิง)
- พิมพ์ใน Microsoft Word ตัวอักษร Cordia New ขนาดอักษร 16 ในกระดาษขนาด A4
- รูปประกอบ ควรมีความคมชัด ใต้รูปให้ระบุว่ารูปที่เท่าไรพร้อมข้อความอธิบายสั้น ๆ ถ้าดัดแปลงมาให้อ้างอิงว่าดัดแปลงมาจากที่ใด
- แผนภูมิประกอบ ควรจัดทำขึ้นใหม่ ถ้าดัดแปลงมาให้อ้างอิงว่าดัดแปลงมาจากที่ใด ใต้แผนภูมิให้ระบุว่ารูปที่เท่าไรพร้อมข้อความอธิบายสั้น ๆ
- ตารางประกอบ ควรจัดทำขึ้นใหม่ ถ้าดัดแปลงมาให้อ้างอิงว่าดัดแปลงมาจากที่ใด เหนือตารางให้ระบุว่าตารางที่เท่าไรพร้อมหัวข้ออธิบายสั้น ๆ ภายในตารางไม่ใช้เส้นแบ่งแนวนอนหรือเส้นแบ่งแนวตั้ง
- การใช้อักษรย่อในรูป แผนภูมิ หรือตาราง ให้อธิบายอักษรย่อกำกับไว้ด้านล่างด้วยเสมอ
- การใช้สัญลักษณ์ในตารางให้ใช้ตามลำดับดังนี้ *,†,‡,§,||,¶,**,††,‡‡,§§,|| ||,¶¶ พร้อมอธิบายความหมายใต้ตาราง
- หน่วยวัดใช้ระบบเมตริก เช่น เมตร กิโลกรัม องศาเซลเซียส หน่วยวัดข้อมูลทางคลินิก เช่น กลูโคส แนะนำให้ใช้ Conventional Unit คือ mg/dL หรืออาจใช้ SI Unit เป็น mmol/L
- การใช้อักษรย่อของหน่วยวัด เช่น มล./กก./วัน หรือ RBC/hpf, mEq/L, mL/min/1.73m2 เป็นต้น
- ชื่อยาควรใช้ชื่อสามัญ (generic name)
- ตัวเลขเอกสารอ้างอิงเป็นตัวเลขในลงเล็บ และ อยู่บรรทัดเดียวกับข้อความ เช่น พบร้อยละ 10 ในผู้ป่วยโรคข้อเสื่อม (3-4)
- การเขียนเอกสารอ้างอิง แนะนำให้ใช้โปรแกรม EndNote® โดยเลือกรูปแบบแวนคูเวอร์ (Vancouver style) ตัวอย่างดังเอกสารแนบ (http://www.nlm.nih.gov/bsd/uniform_requirements.html)
- คณะบรรณาธิการอาจดัดแปลงแก้ไขบทความของท่าน เพื่อให้รูปแบบสอดคล้องกันและเนื้อหามีความเหมาะสม
การส่งต้นฉบับ
- สามารถส่งต้นฉบับได้ทั้งภาษาไทยหรือ ภาษาอังกฤษ ได้ที่
พญ.อัจฉรา กุลวิสุทธิ์
กองบรรณาธิการวารสารโรคข้อและรูมาติสซั่ม
สมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย
ชั้น 9 อาคารเฉลิมพระบารมี ๕๐ ปี
เลขที่ 2 ซอยศูนย์วิจัย ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
โทรศัพท์ 0-2716-6524, 0-2716-6661-4 ต่อ 9002 โทรสาร 0-2716-6525
e-mail: [email protected]